วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 3 Windows XP

วิธีการติดตั้ง Windows XP มีอยู่ด้วยกันห้าวิธี พิจารณาวิธีต่อไปนี้ และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับการติดตั้งของคุณ
  • วิธีที่ 1: ติดตั้ง Windows XP ใหม่ทั้งหมด
    ใช้วิธีนี้เพื่อติดตั้ง Windows XP ใหม่ทั้งหมด การติดตั้งใหม่ทั้งหมดจะเอาข้อมูลทั้งหมดออกจากฮาร์ดดิสก์ของคุณ โดยแบ่งพาร์ติชันใหม่และฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่ แล้วติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์เปล่า
  • วิธีที่ 2: ปรับรุ่นเป็น Windows XP
    ใช้วิธีนี้ หากคุณกำลังปรับรุ่นเป็น Windows XP จาก Microsoft Windows 98, Microsoft Windows Millennium Edition หรือ Microsoft Windows 2000 Professional
  • วิธีที่ 3: ติดตั้ง Windows XP ลงในฮาร์ดดิสก์ใหม่
    ใช้วิธีนี้ในการติดตั้ง Windows XP ลงในฮาร์ดดิสก์ใหม่ วิธีนี้ใช้โดยทั่วไปเมื่อมีการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
  • วิธีที่ 4: ติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ (การติดตั้งแบบขนาน)
    ใช้วิธีนี้ในการติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ (การติดตั้งแบบขนาน) เพื่อทำงานในสองระบบปฏิบัติการ หรือเพื่อเข้าถึง ซ่อมแซม หรือดึงข้อมูลจากดิสก์ที่เสียหาย
  • วิธีที่ 5: การทำงานด้วยการบูตแบบหลายระบบ
    ใช้วิธีนี้ในการติดตั้ง Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการต่างหากในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้คุณสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการได้มากกว่าหนึ่งระบบในคอมพิวเตอร์ และเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้ทุกครั้งที่เริ่มต้นคอมพิวเตอร์

วิธีที่ 1: ติดตั้ง Windows XP ใหม่ทั้งหมด

การติดตั้งใหม่ทั้งหมดประกอบด้วยการเอาข้อมูลทั้งหมดออกจากฮาร์ดดิสก์ของคุณ โดยแบ่งพาร์ติชันใหม่และฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่ แล้วติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์เปล่า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนที่จะแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ และวิธีการแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์โดยใช้โปรแกรมการติดตั้ง Windows XP ให้คลิกหมายเลขบทความต่อไปนี้ เพื่อดูบทความในฐานความรู้ของ Microsoft:
313348  (http://support.microsoft.com/kb/313348/ ) วิธีการแบ่งพาร์ติชันและฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใน Windows XP (ลิงค์นี้อาจเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษบางส่วน หรือทั้งหมด)
ในการติดตั้ง Windows XP ใหม่ทั้งหมด ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. สำรองข้อมูลสำคัญทั้งหมด ก่อนที่จะติดตั้ง Windows XP ใหม่ทั้งหมด เก็บข้อมูลสำรองไว้ในสื่อภายนอก เช่น ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ภายนอก
  2. เริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP โดยให้ใส่ซีดี Windows XP ลงในไดรฟ์ซีดีหรือดีวีดี แล้วเริ่มระบบของคอมพิวเตอร์ใหม่

    หมายเหตุ ในการบูตจากแผ่นซีดี Windows XP จะต้องกำหนดการตั้งค่า BIOS ในคอมพิวเตอร์ให้ทำเช่นนั้นได้
  3. เมื่อคุณเห็นข้อความ "กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มระบบจากซีดี" ให้กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP
  4. ที่หน้าจอ Welcome to Setup ให้กด ENTER เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows XP
  5. อ่านเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิสำหรับซอฟต์แวร์ของ Microsoft แล้วกด F8
  6. ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อเลือกและฟอร์แมตพาร์ทิชันที่คุณต้องการติดตั้ง Windows XP
  7. ทำตามคำแนะนำต่างๆ ในหน้าจอเพื่อทำการติดตั้ง Windows XP ให้เสร็จสมบูรณ์
ถ้าคุณติดตั้ง Windows XP สำเร็จ ถือว่าจบการทำงาน ถ้าขั้นตอนดังกล่าวไม่ช่วยให้ติดตั้ง Windows XP ได้ ไปที่หัวข้อ "ขั้นตอนต่อไป"

วิธีที่ 2: ปรับรุ่นเป็น Windows XP

ส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการปรับรุ่นเป็น Windows XP จาก Windows 98, Windows Millennium Edition และ Windows 2000 Professional

หมายเหตุ Windows 2000 และ Windows 2000 Professional สามารถปรับรุ่นเป็น Windows XP Professional ได้เท่านั้น ไม่สามารถปรับรุ่น Windows 2000 เป็น Windows XP Home ได้

ข้อสำคัญ ก่อนเริ่มการปรับรุ่น ติดต่อผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เพื่อรับการปรับรุ่น BIOS ล่าสุดสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ แล้วจึงติดตั้งการปรับรุ่น หากคุณอัปเดท BIOS หลังจากคุณอัปเกรดคอมพิวเตอร์แล้ว คุณอาจต้องติดตั้ง Windows XP ใหม่เพื่อเพิ่มข้อดีให้กับคุณสมบัติต่างๆ เช่น การสนับสนุน Advanced Configuration and Power Interface (ACPI) ใน BIOS หากคุณสามารถดำเนินการได้ ให้ปรับปรุงเฟิร์มแวร์ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มการปรับรุ่น

คุณอาจต้องตัดการเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตระหว่างการติดตั้ง ขั้นตอนนี้ไม่จำเป็น แต่การตัดการเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตระหว่างการติดตั้งจะช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ สำหรับการป้องกันที่มากขึ้น คุณอาจต้องเปิดใช้ไฟร์วอลล์ของ Microsoft Internet Explorer สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูหัวข้อ "การเปิดใช้งานหรือยกเลิกการใช้งาน Internet Connection Firewall" ในวิธีใช้ของระบบปฏิบัติการ Windows XP ของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเตรียม Windows 98 หรือ Windows Millennium Edition สำหรับการปรับรุ่นไปเป็น Windows XP ให้คลิกหมายเลขบทความต่อไปนี้ เพื่อดูบทความในฐานความรู้ของ Microsoft:

316639  (http://support.microsoft.com/kb/316639/ ) วิธีการเตรียมปรับรุ่น Windows 98 หรือ Windows Millennium Edition ไปเป็น Windows XP (ลิงค์นี้อาจเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษบางส่วน หรือทั้งหมด)
เมื่อต้องการปรับรุ่นไปเป็น Windows XP ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
  1. เริ่มการทำงานคอมพิวเตอร์ของคุณ แล้วใส่ซีดี Windows XP ลงในไดรฟ์ซีดีหรือดีวีดี
  2. หาก Windows ตรวจหาซีดีโดยอัตโนมัติ ให้คลิก ติดตั้ง Windows เพื่อเริ่มตัวช่วยสร้างการติดตั้ง Windows XP

    ถ้า Windows ไม่ได้ตรวจหาซีดีโดยอัตโนมัติ ให้คลิก เริ่ม แล้วคลิก เรียกใช้ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ แล้วคลิก ตกลง:
    อักษรของไดรฟ์ซีดี:\setup.exe
  3. เมื่อถูกขอให้เลือกประเภทการติดตั้ง ให้เลือก ปรับรุ่น (ค่าเริ่มต้น) แล้วคลิก ถัดไป
  4. ทำตามคำแนะนำต่างๆ ในหน้าจอเพื่อทำการอัปเกรดให้เสร็จสมบูรณ์
ถ้าคุณปรับรุ่นเป็น Windows XP สำเร็จ ถือว่าจบการทำงาน ถ้าขั้นตอนดังกล่าวไม่ช่วยให้ปรับรุ่นเป็น Windows XP ได้ ไปที่หัวข้อ "ขั้นตอนต่อไป"

วิธีที่ 3: ติดตั้ง Windows XP ลงในฮาร์ดดิสก์ใหม่

วิธีนี้จะอธิบายวิธีติดตั้ง Windows XP ลงในฮาร์ดดิสก์ใหม่ วิธีนี้ใช้โดยทั่วไปเมื่อมีการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ใหม่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

หมายเหตุ คุณจะต้องใช้ซีดีสำหรับระบบปฏิบัติการก่อนหน้านี้ เพื่อทำขั้นตอนนี้

ก่อนเริ่ม ให้เริ่มต้นคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อใดสื่อหนึ่งต่อไปนี้

  • ดิสก์เริ่มต้นระบบของ Microsoft Windows 98/Windows Millennium
  • ซีดีหรือดิสก์สำหรับเริ่มระบบ Windows XP

    หมายเหตุ ซีดี Windows XP เป็นสื่อที่นิยมเลือกใช้ในขั้นตอนต่อไปนี้ แต่ดิสก์สำหรับเริ่มระบบ Windows XP ก็ใช้ได้เช่นกัน ถ้าคุณไม่มีซีดี
เมื่อต้องการติดตั้ง Windows XP ลงบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
  1. เริ่มต้นคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP (หรือดิสก์สำหรับเริ่มระบบ) โดยให้ใส่ซีดี Windows XP ลงในไดรฟ์ซีดีหรือดีวีดี แล้วเริ่มระบบของคอมพิวเตอร์ใหม่
  2. เมื่อปรากฏข้อความ "กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มระบบจากซีดี" บนหน้าจอ ให้กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP
  3. ที่หน้าจอ ยินดีต้อนรับสู่การติดตั้ง กด ENTER เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows XP
  4. อ่านเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิสำหรับซอฟต์แวร์ของ Microsoft แล้วกด F8
  5. เมื่อคุณถูกถามหาซีดี Windows XP ให้ใส่แผ่นซีดี Windows XP ของคุณ
  6. เริ่มระบบคอมพิวเตอร์ของคุณใหม่
  7. เมื่อคุณเห็นข้อความ "กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มระบบจากซีดี" ให้กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP
  8. ที่หน้าจอ ยินดีต้อนรับสู่การติดตั้ง ให้กด ENTER เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows XP
  9. ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อเลือกและฟอร์แมตพาร์ทิชันที่คุณต้องการติดตั้ง Windows XP
  10. ทำตามคำแนะนำต่างๆ ในหน้าจอเพื่อทำการติดตั้ง Windows XP ให้เสร็จสมบูรณ์
ถ้าคุณติดตั้ง Windows XP สำเร็จ ถือว่าจบการทำงาน ถ้าขั้นตอนดังกล่าวไม่ช่วยให้ติดตั้ง Windows XP ลงในฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้ ไปที่หัวข้อ "ขั้นตอนต่อไป"

วิธีที่ 4: ติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ (การติดตั้งแบบขนาน)

วิธีนี้จะอธิบายวิธีติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ (การติดตั้งแบบขนาน) เพื่อทำงานในสองระบบปฏิบัติการ หรือเพื่อเข้าถึง ซ่อมแซม หรือดึงข้อมูลจากดิสก์ที่เสียหาย

ก่อนเริ่ม ให้เริ่มต้นคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อใดสื่อหนึ่งต่อไปนี้

  • ดิสก์เริ่มต้นระบบของ Microsoft Windows 98/Windows Millennium Edition
  • ซีดีหรือดิสก์สำหรับเริ่มระบบ Windows XP

    หมายเหตุ ซีดี Windows XP เป็นสื่อที่นิยมเลือกใช้ในขั้นตอนต่อไปนี้ แต่ดิสก์สำหรับเริ่มระบบ Windows XP ก็ใช้ได้เช่นกัน ถ้าคุณไม่มีซีดี
เมื่อต้องการติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
  1. เริ่มต้นคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP (หรือดิสก์สำหรับเริ่มระบบ) โดยให้ใส่ซีดี Windows XP ลงในไดรฟ์ซีดีหรือดีวีดี แล้วเริ่มระบบของคอมพิวเตอร์ใหม่
  2. เมื่อปรากฏข้อความ "กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มระบบจากซีดี" บนหน้าจอ ให้กดแป้นใดๆ เพื่อเริ่มการทำงานของคอมพิวเตอร์จากซีดี Windows XP
  3. ที่หน้าจอ ยินดีต้อนรับสู่การติดตั้ง กด ENTER เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows XP
  4. อ่านเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิสำหรับซอฟต์แวร์ของ Microsoft แล้วกด F8
  5. เลือกพาร์ติชันที่คุณต้องการติดตั้ง Windows XP แล้วกดปุ่ม ENTER
  6. เลือกตัวเลือก ใช้ระบบแฟ้มปัจจุบัน (ไม่ทำการเปลี่ยนแปลง) แล้วกด ENTER เพื่อทำงานต่อ
  7. กดปุ่ม ESC เพื่อติดตั้งโฟลเดอร์อื่น

    หากโปรแกรมการติดตั้งตรวจพบโฟลเดอร์ระบบปฏิบัติการอื่น ระบบจะพรอมต์ให้คุณพิมพ์ชื่อสำหรับโฟลเดอร์ใหม่หลังเครื่องหมายทับขวา (\) ตัวอย่างเช่น \WINXP หากไม่มีการตรวจพบระบบปฏิบัติการอื่น โปรแกรมติดตั้งจะตั้งชื่อโฟลเดอร์โดยอัตโนมัติเป็น\Windows สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ในการติดตั้งใหม่ ให้คลิกหมายเลขบทความต่อไปนี้ เพื่อดูบทความในฐานความรู้ของ Microsoft:
    315242  (http://support.microsoft.com/kb/315242/ ) การกำหนดชื่อโฟลเดอร์เดิมสำหรับการติดตั้ง Windows XP ใหม่อีกครั้ง (ลิงค์นี้อาจเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษบางส่วน หรือทั้งหมด)
  8. กด ENTER เพื่อทำต่อ
  9. ทำตามคำแนะนำต่างๆ ในหน้าจอเพื่อทำการติดตั้ง Windows XP ให้เสร็จสมบูรณ์
ถ้าคุณติดตั้ง Windows XP สำเร็จ ถือว่าจบการทำงาน

ถ้าขั้นตอนดังกล่าวไม่ช่วยให้ติดตั้ง Windows XP ลงในโฟลเดอร์ใหม่ได้ ไปที่หัวข้อ "ขั้นตอนต่อไป"

วิธีที่ 5: การทำงานด้วยการบูตแบบหลายระบบ
ใช้วิธีนี้ในการติดตั้ง Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการแยกต่างหากในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการได้มากกว่าหนึ่งระบบ และเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้ทุกครั้งที่เริ่มต้นคอมพิวเตอร์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำมัลติบูตสำหรับ Windows XP และรุ่นอื่นๆ ของ Windows และ MS-DOS ให้คลิกหมายเลขบทความต่อไปนี้ เพื่อดูบทความในฐานความรู้ของ Microsoft:
217210  (http://support.microsoft.com/kb/217210/ ) วิธีการบูตแบบหลายระบบสำหรับ Windows XP, Windows 2000, Windows NT, Windows 95, Windows 98, Windows Me และ MS-DOS
ถ้าคุณติดตั้ง Windows XP สำเร็จ ถือว่าจบการทำงาน ถ้าขั้นตอนดังกล่าวไม่ช่วยให้ติดตั้ง Windows XP ได้ ไปที่หัวข้อ "ขั้นตอนต่อไป"

ใบงานที่ 3 คำสั่ง DOS

คำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) ป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]
หมายถึง
Drive เช่น A:, B:
[path]
หมายถึง
ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]
หมายถึง
ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]
หมายถึง
ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
 
1. Drive [d :] ที่เราใช้งาน ได้แก่ A: B: C: หรือ D:
2. ชื่อไดเรคตอรี่ย่อย [path]
3. ชื่อไฟล[filename] ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือเลขอารบิค มีไม่เกิน 8 ตัวอักษร ห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายอื่นใด ( ปัจจุบันเครื่องที่เป็น Windows95/98 สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ 255 ตัวอักษร และสามารถตั้งเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ )
4. ส่วนขยายหรือนามสกุล [.ext] ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
1.               คำสั่งลบข้อมูลบนจอภาพ ขณะนั้น
CLS (CLEAR SCREEN) รูปแบบ : CLS
2.               คำสั่ง แก้ไข วัน เดือน ปี
DATE รูปแบบ : DATE
    • เมื่อขึ้น C: ให้พิมพ์ DATE กด Enter
    • พบข้อความว่า Current date is jan 03-19-2001
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามวันที่ปัจจุบัน
    3.    คำสั่งแก้ไขเวลา
TIME รูปแบบ : TIME
    • กรณีเดียวกันกับ วัน เดือน ปี
    • พบข้อความว่า Current time is 11:10:20
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามเวลาปัจจุบัน
    4.   คำสั่ง ดูรุ่น หมายเลข ( Version ) ของดอส
 
                     VER (VERSION) รูปแบบ : Ver
    5.    การเปลี่ยน Drive
        -     จาก A:\ เป็น C:\ ให้พิมพ์ C: กด Enter
   
     -     จะขึ้น C:\
    6.    คำสั่ง ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์
            DIR (DIRECTORY) รูปแบบ : DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
            /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ1หน้าจอภาพถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
            /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
    7.    คำสั่ง COPY
            ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทางอาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ เช่น
            A:> COPY DATA.DAT C: BAT.DAT
                หมายถึง การสั่งให้นำสำเนาแฟ้มต้นฉบับจาก ดิสเกต Drive A: ที่มีชื่อแฟ้มว่า DATA.DAT มาทำสำเนาให้ปรากฏใน Drive B: ที่มีชื่อแฟ้มว่า BAT.DAT
    8.    การใช้เครื่องหมาย ? และ * ในชื่อไฟล
            ? ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ 1 ตัวอักษร ในตำแหน่งที่อยู่ใน
                W?? M     หมายถึง ชื่อไฟล์ที่มี W ขึ้นหน้า ตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ 2 ตัว และตามด้วย M
               เครื่องหมาย * ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ ยาวเท่าใดก็ได้ เช่น *.* ชื่อไฟล์อะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้ เช่น
            DIR S*
หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือ
            DIR ?O*
หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ตามด้วย O แล้วต่อท้ายด้วยอักษรอะไรก็ได้
            A:\ COPY*.* B:
หมายถึง ให้ทำสำเนาแฟ้มไปสู่ Drive B:
   
            A:\COPY C*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาจากแฟ้มต้นฉบับ ใน Drive A: โดยเลือกเฉพาะแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นว่า C ทุกไฟล์ เช่น CAT.DAT, CAR.DOC เป็นต้น
    9.    คำสั่ง DEL หรือ Erase
คือ การลบแฟ้มข้อมูล รูปแบบ: DEL
ตัวอย่าง เช่น
C:\DEL A:\DATA.DOC กด Enter หมายความว่า ต้องการลบไฟล์ที่มีชื่อว่า DATA จากDrive A: มีผลทำให้ไฟล์ดังกล่าวหายไปจากแผ่นดิสก์
10. คำสั่ง RENAME
                                         คือ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ รูปแบบ: REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]] ตัวอย่างเช่น
                               REN A: DATA MEETING.DOC SILVER.DOC
         
                            หมายถึง เปลี่ยนชื่อจาก Drive A: แฟ้ม DATA ชื่อไฟล์ MEETING.DOC เป็น SILVER.DOC แทน
  การจัดการ Directory เป็นการจัดการไฟล์ข้อมูล แนวคิดต้นไม้ มีดังนี้
                                    - คำสั่ง MD ( MKDIR) คือการสร้างกิ่งต้นไม้ ตัวอย่างเช่น
    A:\MD Sheet คือ การสร้าง Directory ชื่อ Sheet ไว้ที่ Drive A เมื่อใช้คำสั่ง DIR ดูจะเห็น Directory ดังกล่าว
                - คำสั่ง CD (CHDIR) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของกิ่งต้นไม้ หรือ Directory ที่เราต้องการเข้าไป เช่น
                                           A:\CD INFORMATION คือ การเข้าไปใน Directory ที่มีชื่อว่า INFORMATION
                - คำสั่ง RD (RMDIR) คือ การลบกิ่งต้นไม้ หรือ ไฟล์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น
                       A:\RD DATA คือ การลบ Directory ที่เราได้สร้างไว้ ใน Drive A: หากมี Directory ดังกล่าวจะขึ้นข้อความว่า
Invalid path,not directory,
Or directory not empty
ตัวอย่างการลบ Directory
1.            หากเราจะลบ Directory นั้นก็จะต้องลบไฟล์ข้อมูลในนั้นก่อน โดยใช้คำสั่ง DIR เพื่อดูว่ามีไฟล์อะไรบ้าง เช่น
A:\CD DATA กด ENTER
A:\DATA>DIR กด ENTER ซึ่งจะแสดงข้อมูลทั้งหมดใน Directory ที่ชื่อ DATA ออกมา เช่น เรามีแฟ้มข้อมูลใน Directory ชื่อ DATA 2 แฟ้ม คือ
TEST.DOC
ALL FILES.HTM
2.            สามารถใช้คำสั่งลบ แฟ้มได้ดังนี้
A:\>DATA>DEL*.* กด ENTER ซึ่งจะได้ข้อความดังนี้
All files in directory will be deleted!
Are you sure (Y/N)?
3.               ตอบ N คือ ไม่ต้องการลบไฟล์
ตอบ Y คือ ต้องการลบไฟล์ทั้งหมดใน Directory นี้ ในที่นี้เราต้องการลบ ตอบ Y กด ENTERเมื่อ ใช้คำสั่ง DIR จะไม่พบแฟ้มข้อมูลทั้งสองแล้ว
4.            จากนั้นใช้คำสั่ง CD\ ซึ่งเป็นคำสั่งเปลี่ยน Directory ออกมาที่ Root Directory
A:\>DATA>CD\
A:\>
5.            แล้วจึงสามารถลบ Directory DATA ได้ โดยใช้คำสั่ง RD
A:\>RD DATA
ผลคือ Directory DATA ถูกลบออกไปจากแผ่นดิสก์ เมื่อใช้คำสั่ง DIR จะไม่สามารถมองเห็น
6.            คำสั่ง เข้าสู่ Root Directory ใช้คำสั่ง CD\ เช่น
C:\Windows\temp>CD\ กด ENTER ผลคือ
C:\
7.               คำสั่งออกจาก Directory ย่อย ใช้คำสั่ง CD.. เช่น
          C:\Windows\temp>CD.. กด ENTER ผลคือ
          C:\Windows> ถ้าพิมพ์ CD.. อีกครั้ง
          C:\Windows>CD.. กด ENTER ผลคือ
          C:\>
 
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่งภายนอก เป็นคำสั่งที่ไม่อยู่ในเครื่อง เวลาใช้ต้องเรียกจากแผ่น DOS ตัวอย่างคำสั่ง
1.               คำสั่ง Format
                    Format คือ การเตรียมแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ก่อนการใช้งาน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือเก็บโปรแกรมได้ โดยจะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Format.com         ซึ่งจะใช้ในการสร้าง Track และ Sector บนแผ่นดิสก์ เพื่อที่จะได้นำแฟ้มมาบันทึกบนแผ่นดิสก์ได้
การ Format แผ่นใหม่ มีดังนี้
1.               ใส่แผ่นดิสก์ไปใน Drive ให้ดูว่าแผ่นขนาดใด ชนิดใด
2.               ให้พิมพ์สูตรตามชนิดของแผ่น แล้ว กด Enter
1.               C:\Format A:\ สำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว ชนิด HD
2.               C:\>Format A:/S สำหรับแผ่น 3.5 ชนิด HD ให้เป็น DOS โดยการคัดลอกไฟล์ระบบเข้าไปยังแผ่น A ทำให้แผ่นดิสก์ สามารถ Boot ได้นั่นเอง
            2. คำสั่ง DISKCOPY
คือ คำสั่งที่ใช้ในการทำสำเนาแฟ้มทั้งแผ่นไปสู่ดิสเกตอีกแผ่นที่ต้องการ โดยต้องเป็นแผ่นดิสก์ ชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ทำได้ดังนี้
1.               ถ้าเครื่องไม่มีฮาร์ดดิสก์ ให้ใส่แผ่น DOS ที่มีไฟล์ DISKCOPY.COM ใน Drive A:
2.               ให้พิมพ์คำสั่ง C:\DISKCOPY A: กด Enter เครื่องจะบอกให้ใส่แผ่นต้นฉบับ
3.               ใส่แผ่นต้นฉบับใน Drive A: กด Enter รอสักครู่เครื่องจะบอกให้เรานำแผ่นต้นฉบับออก
4.               ให้ใส่แผ่นสำเนาลงไป กด Enter
5.               เครื่องจะถามการตั้งชื่อให้ กด Enter
6.               เครื่องจะถามว่าจะ DISKCOPY ต่อไปหรือไม่
7.               ตอบ Y คือ ตกลง ตอบ N คือ ไม่ตกลง